Enter your keyword

post

ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมโครงสร้าง

 ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมโครงสร้างประกอบด้วยเครื่องทดสอบต่างๆที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้เกี่ยวกับกลศาสตร์ของโครงสร้างมากมาย เช่น (ก) การแอ่นตัวของคานปลายยึดแน่น (ข) โมเมนต์ของคานปลายยึดแน่นและปลายหมุน (ค) ทฤษฎีของ Maxwell – Betti (ค) โมเมนต์ที่ปลายของ Muller- Breslau (ง) โมเมนต์ภายในของ Muller- Breslau (จ) การแอ่นตัวของคาน (ฉ) การแอ่นตัวของโครงถัก (ช) เส้นอิทธิพลของแรงเฉือน (ซ) เส้นอิทธิผลของโมเมนต์ดัด (ฌ) คานต่อเนื่อง (ญ) งานเสมือน (ฎ) แรงปฏิกิริยาของ Muller- Breslau (ฏ) แรงเฉือน (ฐ) วิธีโมเมนต์ของพื้นที่ (ฑ) การแอ่นตัวของโครงดัด (ฒ) ตัวประกอบการกระจายกลับ และอื่นอีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงทดสอบชิ้นส่วนของโครงสร้าง ซึ่งสามารถทดสอบได้ทั้งเสา คาน หรือโครงข้อหมุน ด้วยกำลังการกด 100 ตัน ซึ่งการทดสอบจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์และเครื่องเก็บข้อมูลดิจิทัล ทั้งนี้ตัวอย่างของเครื่องมือข้างต้นแสดงในรูปด้านล่างนี้

ชุดศึกษาโมเมนต์ของคานปลายยึดแน่นและปลายหมุน

ชุดศึกษาการแอ่นตัวของคาน

ชุดศึกษาเส้นอิทธิพลของแรงเฉือน

ชุดศึกษาการแอ่นตัวของโครงข้อแข็ง

โครงทดสอบชิ้นส่วนของโครงสร้าง

 เครื่องมือทั้งหมดช่วยทั้งในการเรียนและการวิจัยของแผนกวิศวกรรมโครงสร้างของภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม โดยการเรียนรูปเกี่ยวกับกลศาสตร์โครงสร้างผ่านทั้งทฤษฎีในห้องเรียนและห้องปฏิบัติการจะช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตซึ่งนั่นคือเป้าหมายที่ออกแบบไว้ของภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม