Enter your keyword

Our Teacher

รองศาสตราจารย์ ว่าที่ ร.ต.ดร.ศุภชัย สินถาวร

รองศาสตราจารย์

ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เลขที่ 63 หมู่ที่ 7 ถนนรังสิต-นครนายก
อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120
อีเมล์ : suppachai@g.swu.ac.th

1.1 ประวัติ
 นายศุภชัย สินถาวร ศึกษาระดับปริญญาตรี (2539) ที่ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งในขณะศึกษาได้รับรางวัลนิสิตดีเด่นของชั้นปี จากนั้นได้รับทุนการศึกษาเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโท-เอก จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และได้ศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้บรรจุเป็นอาจารย์ประจำและทำการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 จากนั้นได้ลาเพื่อศึกษาต่อ ในระดับปริญญาเอกจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยสำเร็จการศึกษาในปี 2552

 หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาเอก ว่าที่ ร.ต.ดร.ศุภชัย สินถาวร ได้ทำการสอนในส่วนของวิชาวิศวกรรมโครงสร้าง ในส่วนของการวิเคราะห์โครงสร้าง ออกแบบ และวัสดุ (ได้แก่ วิชาวิเคราะห์โครงสร้าง การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก การออกแบบโครงสร้างไม้และเหล็ก วัสดุวิศวกรรม คอนกรีตเทคโนโลยี ฯลฯ ) และได้เคยทำงานในตำแหน่งรองหัวหน้าภาควิชาฯ กรรมการหลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ในระหว่างปี พ.ศ.2557-2558 ผศ.ว่าที่ ร.ต. ดร.ศุภชัย สินถาวร ได้รับทุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น ผ่านกระทรวงต่างประเทศ ไปฝึกอบรม ด้านวิศวกรรมแผ่นดินไหว และการจัดการภัยพิบัติ ที่ International Institute of Seismology and Earthquake Engineering (IISEE), Building Research Institute (BRI), Tsukuba, Japan และที่ National Graduate Institute for Policy Studies (GRIPS) และได้มีโอกาสได้ทำงานวิจัยที่ Tokyo Institute of Technology เกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรมของคอนกรีตอัดแรงภายใต้แรงแผ่นดินไหว ทั้งนี้หลังจากฝึกอบรมแล้ว จึงได้สอนเพิ่มในรายวิชา พื้นฐานการจัดการภัยพิบัติ และทำโครงการบริการวิชาการให้กับชุมชุนโครงการ “อยู่กับแผ่นดินไหว”

 ว่าที่ร้อยตรีศุภชัย สินถาวร ได้รับรางวัลบทความดีเด่นจากงานประชุมวิชาการ Kasetsart University Symposium,  2548 จากนั้น รศ.ว่าที่ ร.ต.ดร.ศุภชัย สินถาวรก็เข้าร่วมนำเสนองานวิจัยอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งได้รับเชิญเป็นประธาน ในการนำเสนอของการประชุมวิชาการ เช่น Hong Kong International Conference on Engineering and Applied Science (HKICEAS2012) (ที่ ฮ่องกง), International Congress on Engineering and Information (ICEAI), (ที่ ญี่ปุ่น) ฯลฯ และในการประชุมวิชาการ International Conference on Materials Technology and Applications 2016 (ICMTA2016) ที่สิงคโปร์ ได้รับการเสนอให้ได้รับรางวัล The Best Oral Presentation ทั้งนี้ รศ.ว่าที่ ร.ต. ดร.ศุภชัย สินถาวร ยังเป็นผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความของวารสารวิชาการอีกจำนวนหนึ่ง ในด้านการบริหารงานวิจัย ปัจจุบัน รศ.ว่าที่ ร.ต. ดร.ศุภชัย สินถาวร เป็นหัวหน้าหน่วยวิจัยด้านนวัตกรรมที่ยั่งยืนในกรอบวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม

 ด้านกิจกรรมของนิสิต รศ.ว่าที่ ร.ต. ดร.ศุภชัย สินถาวร เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาสำหรับการแข่งขันของนิสิต อาทิเช่น การแข่งขันคอนกรีตพลังช้าง (2552-2556), การแข่งขันคอนกรีตมวลเบาระดับอุดมศึกษา (2552-2555), การแข่งขันสะพานเหล็กเอเชีย (2553-ปัจจุบัน) และเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาผู้ก่อตั้งชมรม “วิศวสานฝันสรรค์สร้าง” เพื่อออกค่ายอาสา เพื่อพัฒนาพื้นที่ของโรงเรียน ทั้งนี้กิจกรรมนิสิตได้เปิดโอกาสให้นิสิต ใช้ทักษะและความรู้จากห้องเรียนไปสู้การทดลองปฏิบัติจริง

 

1.2 การศึกษา

  • D.Eng (Structural Engineering), Asian Institute of Technology (2552)
  • วศ.ม.(วิศวกรรมโยธา,โครงสร้าง), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2546)
  • M.Sc (Disaster Management), GRIPS, Japan 2015 (2558)
  • Dip. (Earthquake Engineering), IISEE, Japan 2015 (2558)
  • วศ.บ.(โยธา), มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ (2543)

 

1.3 ตำแหน่งทางวิชาการ

  • รองศาสตราจารย์ ภาคภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

1.4 วิชาที่สอน

  • วัสดุวิศวกรรมโยธาและการทดสอบ
  • คอนกรีตเทคโนโลยี
  • คอนกรีตเทคโนโลยีขั้นสูง
  • ปฏิบัติการวิศวกรรมพื้นฐาน
  • การทดสอบทดลองในวิศวกรรมโครงสร้าง
  • กลศาสตร์วิศวกรรม I (สถิตศาสตร์)
  • การวิเคราะห์โครงสร้าง I, II
  • การวิเคราะห์โครงสร้างขั้นสูง
  • เสถียรภาพของโครงสร้าง
  • การออกแบบโครงสร้างไม้และเหล็ก
  • การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • คอนกรีตเสริมเหล็กขั้นสูง
  • นิติวิศวกรรม
  • การซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตที่เสื่อมสภาพ
  • การวิเคราะห์เชิงตัวเลข
  • การวิเคราะห์ทางวิศวกรรม
  • การประมวลความรู้ทางวิศวกรรมโยธา
  • การใช้คอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรมโยธา
  • โครงงานวิศวกรรมโยธา
  • การออกค่ายวิศวกรรมสำรวจ
  • การบริหารจัดการสาธารณภัยเบื้องต้น
  • พลศาสตร์โครงสร้าง
  • วิศวกรรมแผ่นดินไหวเบื้องต้น

 

1.5 งานบริการทางวิชาชีพวิศวกรรม

  • วิศวกรโครงสร้าง โครงสร้างสำหรับแผงโซลาร์เซลล์ โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ หลายโครงการของบริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)
  • วิศวกรโครงสร้าง โครงการออกแบบทางวิ่งรถไฟฟ้า BTS ส่วนต่อขยายสำโรง-แบริ่ง, หมอชิต-สะพานใหม่
  • วิศวกรที่ปรึกษาโครงการก่อสร้าง เขื่อนคลองท่าด่าน ฯ

 

1.6 ประเภทใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

  • วิศวกรโยธา ระดับสามัญวิศวกร(2555-ปัจจุบัน)
  • วิศวกรโยธา ระดับภาคีวิศวกร (2543-2555)

 

1.7 ภาระงานที่มีต่อมหาวิทยาลัย

  • กรรมการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, 2554-2563
  • รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา, 2554
  • กรรมการประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, 2547-ปัจจุบัน

 

1.8 งานบริการด้านอื่นๆ

  • ที่ปรึกษาวิศวกร กำกับการกองสะพาน ฝ่ายการช่างโยธา ปฏิบัติงานสำรวจและออกแบบโครงสร้างสะพานไม้ถ้ำกระแซ กาญจนบุรี การรถไฟแห่งประเทศไทย
  • วิศวกรโครงสร้าง โครงการปรับปรุง ซ่อมแซม สะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ของกรมทางหลวงชนบท
  • กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ (ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ)

2.1 สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

  • วิศวกรรมคอนกรีตและวัสดุ
  • วิศวกรรมโครงสร้าง
  • วิศวกรรมแผ่นดินไหว

 

2.2 สาขาวิชาที่ชำนาญ

  • การจัดการภัยพิบัติ
  • เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม


  • International Journal
    1. Suppachai Sinthaworn (2017).” Investigation of the rebound number and compressive strength of concrete with quarry dust as fine aggregate “, MATEC Web of Conferences 130, 130, 25 October 2017, Article number 04003, DOI: 10.1051/matecconf/201713004003
    2. Suppachai Sinthaworn. (2017).” Water Penetration Resistance of Fly Ash Concrete Incorporating with Quarry Wastes”, Materials Science Forum, Vol. 886, pp 159-163
    3. Wasan Teerajetgul and Suppachai Sinthaworn. (2014).” Effects of Using Fine Quarry Waste as Cement Replacement Material on the Compressive Strength of the Mixture of Interlocking Block”, Advanced Materials Research Vols. 1030-1032 (2014) pp 2348-2353
    4. Suppachai Sinthaworn, T. Koseekageepat and O. Saengmanee (2014). “Investigation of Engineering Properties of Quarry Waste in Eastern Part of Thailand for Use as Fine Aggregate in Concrete” Advanced Materials Research Vol. 974 (2014) pp 350-353
    5. Suppachai Sinthaworn, Wasan Teerajetgul and Attasit Sirivachiraporn. (2014).”Water Penetration Resistance of Green Concrete incorporating with Quarry Wastes”, Advanced Materials Research Vols. 875-877 (2014) pp 619-623
    6. S.Sinthaworn and P.Nimityongskul (2011). “Effects of Temperature and Alkaline Solution on Electrical Conductivity Measurements of Pozzolanic Activity” Cement & Concrete Composites, Vol.33, No.5, pp.622-627
    7. S.Sinthaworn and P.Nimityongskul (2009). “Quick Monitoring of Pozzolanic Reactivity of Waste Ash” Waste Management, Vol.29, No.5, pp.1526-1531
    8. S.Sujjavanich, W.Mairiang and S.Suppachai (2004).” Some Effects on Datum Temperature for Maturity Application on Fly Ash Concrete” Kasetsart J. (Nat. Sci.) 38 : pp 150 – 156

 

  • National Journal
    1. ศุภชัย สินถาวร, ณัฐณีกาณต์ ธรรมรัตน์, ศรัญญู เลิศเกียรติกุล และ ภัทรพล ไพจิตรวิจารณ์ (2565) การทดสอบความทนทานของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์โดยใช้มวลรวมละเอียดจากหินฝุ่นภายใต้การกระทำของโซเดียมซัลเฟตและแมกนีเซียมซัลเฟต วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ปีที่ 14 ฉบับที่ 28 กรกฎาคม-ธันวาคม 2565
    2. ชนาพันธ์ ถิระโคตร, ธนะสิทธิ์ คำริแง, พงศภัค กะดี่ทอง และ ศุภชัย สินถาวร (2565) การศึกษาการเสื่อมสภาพของคอนกรีตสำหรับเสาสะพานในจังหวัดนครนายกและ การทดสอบคุณสมบัติการขัดสีของมอร์ต้าร์ซ่อมแซม และกำลังเสาจำลอง วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (2022): มกราคม-มิถุนายน 2565 หน้า 22-32
    3. นิชาพัฒน์ วราเสฏฐ์รัตน, ศุภชัย สินถาวร และ อุษณีย์ ปึงไพบูลย์ การวิเคราะห์เปรียบเทียบความเค้นของฟันรักษาราก ที่มีขนาดคลองรากฟันกว้าง เมื่อใช้เดือยฟันเสริมเส้นใยจำนวนต่างๆ ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ปีที่ 11 ฉบับที่ 21 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ.2562, หน้า 130-140
    4. ศุภชัย สินถาวร, ทศพล ปิ่นประดับ, กิตติพันธ์ คงภักดี, ศักดิ์ชาย เจริญมิตร, ภัทรพล ไพจิตรวิจารณ์ และ กัณฐกช บงกชศุภภา. “การทดสอบและการวิเคราะห์การโก่งตัวของสะพานเหล็ก : ผลกระทบจากค่าความแข็งแกร่งของชิ้นส่วน และจุดต่อ” วารสารวิศวกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – มิถุนายน 2560, 9-16
    5. ศุภชัย สินถาวร (2557). “การผลิตคอนกรีตกำลังสูงมากที่ไหลเข้าแบบได้ง่าย” วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 เดือนมกราคม – มิถุนายน พ.ศ.2557, 88-95
    6. ศุภชัย สินถาวร (2553). “การประเมินกำลังของคอนกรีตด้วยรีบาวด์แฮมเมอร์” วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม พ.ศ.2553 หน้า 43-49.

 

  • International Conference
    1. Suppachai Sinthaworn (2016). “Water Penetration Resistance of Fly Ash Concrete incorporating with Quarry Wastes” In Proceeding of International Conference on Materials Technology and Applications 2016 (ICMTA2016), October 29-31, 2012, Singapore.
    2. Nopagon Usahanunth, Waranon Kongsong, Seree Tupraka, Sirawan Ruangchuay Tuprakay, Suppachai Sinthaworn and Sathian Charoenrien (2016). The compressive strength study and the mortar standard compliance inspection of Waste Bakelite Mortar and Conventional Mortar. In Proceeding of the 3rd Management and Innovation Technology International Conference (MITicon 2016), 12-14 October, 2016, Bang-Saen, Thailand
    3. Sinthaworn S., Kono S. and Watanabe H. (2016). Simulation of Hysteresis Response of Prestressed Concrete Member. In Proceeding of the 5th International Congress on Engineering and Information (ICEAI 2016), 10-12 May, 2016, Osaka, Japan
    4. Suppachai Sinthaworn, Tidtawat Koseekageepat and Orapint Saengmanee (2013). “Some Engineering Properties of Quarry Waste for Used as Fine Aggregate in Mortar” In Proceeding of 2012 Hong Kong International Conference on Engineering and Applied Science(2012 HKICEAS), December 14-16, 2013, HongKong, China
    5. Suppachai Sinthaworn (2011). “Utilization of Quarry Wastes as Fine Aggregate for Green Concrete” In Proceeding of Ramkhamhaeng University International Research Conference 2010 “Resource Management in a Changing World” January 13 – 14, 2011 King Ramkhamhaeng the Great Auditorium, Ramkhamhaeng University Bangkok, Thailand.

 

  • National Conference
    1. ณัฐฤกษ์ อักษรณรงค์ ธนวัฒน์ กาฬสินธุ์ ธัชพล เข็มเพ็ชร ภูเบศวร์ กอมณี และ ศุภชัย สินถาวร (2564). ผลกระทบของจำนวนคูหาในอาคารตึกแถวอนุรักษ์ภาคเหนือคอนกรีตเสริมเหล็กสูงสี่ชั้นโดยวิธีผลักทางด้านข้าง. การประชุมวิชาการระดับชาติ “มศว วิจัย” ครั้งที่ 14 วันที่ 24 มิถุนายน 2564 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หน้า 399-410
    2. ณัฐฤกษ์ อักษรณรงค์ และ ศุภชัย สินถาวร (2564) การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสามารถต้านทานแผ่นดินไหวของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีผลักทางด้านข้าง การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่18 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน วันที่ 8-9 ธันวาคม 2564 หน้า 419-426
    3. ณัฐฤกษ์ อักษรณรงค์ และ ศุภชัย สินถาวร (2563). การประเมินโครงสร้างต้านทานแรงแผ่นดินไหวด้วยวิธีสถิตไม่เชิงเส้น: กรณีศึกษาอาคารเรียน 4 ชั้น. การประชุมวิชาการระดับชาติ “มศว วิจัย” ครั้งที่ 13 วันที่ 25 - 26 มีนาคม 2563 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    4. ภัทรพล ไพจิตรวิจารณ์ และ ศุภชัย สินถาวร (2563). คุณสมบัติของมอร์ต้าร์ซ่อมแซมและความเข้ากันได้ของการซ่อมแซมพื้นผิวคอนกรีต. การประชุมวิชาการระดับชาติ “มศว วิจัย” ครั้งที่ 13 วันที่ 25 - 26 มีนาคม 2563 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    5. วีระเดช เพชรรักษา, สรวุฒิ เตี๋ยวงษ์สุวรรณ์, อรรถพล พลชัย, ศุภชัย สินถาวร และ วสันต์ ธีระเจตกูล (2562). การศึกษาการใช้หินฝุ่นในการทำบล็อกประสาน. การประชุมวิชาการระดับชาติ “มศว วิจัย” ครั้งที่ 12 วันที่ 20 - 21 มีนาคม 2562 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    6. ภัทรพล ไพจิตรวิจารณ์ และ ศุภชัย สินถาวร (2562). ผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการบ่มต่อการยืดหดตัวของตัวอย่าง มอร์ต้าร์ปูนพ่น. การประชุมวิชาการระดับชาติ “มศว วิจัย” ครั้งที่ 12 วันที่ 20 - 21 มีนาคม 2562 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    7. ศุภชัย สินถาวร, นฤพัทธ์ สาทลาลัย, วิเชียร ศรีศักดา และ วัลลภ ดาราสม (2561). ลานตากข้าวจากคอนกรีตผสมเถ้าแกลบดำ. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชนครินทร์วิจัย ครั้งที่ 9: 3-4 เมษายน 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
    8. จิรวัฒน์ ทรัพย์พิทยากร, ณัฐชัย ชาติไทยไตรรงค์, พีระพล โอนิกะ, ศุภชัย สินถาวร (2560). การประเมินชิ้นส่วนโครงสร้างภายใต้แรงแผ่นดินไหว: กรณีศึกษาแบบ สน.ศท.4/12. การประชุมวิชาการระดับชาติ “มศว วิจัย” ครั้งที่ 10 วันที่ 20 – 21 กรกฎาคม 2560 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    9. กัณฐกช บงกชศุภภา, ชวดล ไพจิตรวิจารณ์, ชลชัย ดวงแก้ว, ศุภชัย สินถาวร และวสันต์ ธีระเจตกูล (2559) “ผลกระทบจากประเภทของมวลรวมที่มีผลต่อคุณสมบัติทางกลของคอนกรีต”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 วันที่ 28-30 มิถุนายน 2559 จ.สงขลา
    10. วสันต์ ธีระเจตกูล, ศุภชัย สินถาวร และ วุฒินัย กกกำแหง (2555) “การศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของบล็อกประสานจากดินลูกรังผสมซีเมนต์”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 17, 9-11 พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์แอนคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ อุดรธานี
    11. ปะริด เรามานะ, พชร ทองเผือก, ปฏิพัทธ์ คูแก้ว และ ศุภชัย สินถาวร (2555) “การศึกษาคุณสมบัติของจีโอโพลิเมอร์มอร์ตาร์โดยใช้มวลรวมละเอียดจากหินฝุ่นเพื่อใช้เป็นวัสดุซ่อม”, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 17, 9-11 พฤษภาคม 2555 ณ โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์แอนคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ อุดรธานี
    12. สุพน เดชพลมาตย์ และ ศุภชัย สินถาวร (2553). “การเสื่อมสภาพวัสดุของสะพานคอนกรีตในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท”. การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 6, โรงแรมแกรนด์แปซิฟิค ซอฟเฟอริน รีสอร์ทแอนด์สปา ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 20-22 ตุลาคม 2553
    13. ศุภชัย สินถาวร และ พิชัย นิมิตยงสกุล (2552). “วิธีตรวจสอบสารปอซโซลานเชิงคุณภาพอย่างรวดเร็วภายในหนึ่งวัน”. การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 5, โรงแรมเดอะ กรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา 20-22 ตุลาคม 2552
    14. ศุภชัย สินถาวร, ภัททิรา ทองประกอบ, อมฤต สิริอิสสระนันท์ และ พิชัย นิมิตยงสกุล (2549). “ปัญหาที่พบในการตรวจสอบดัชนีการรับกำลังของสารปอซโซลานตามมาตรฐาน ASTM C 311”. การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 2, โรงแรมเจริญศรี แกรนด์ รอยัล จังหวัดอุดรธานี 20-22 ตุลาคม 2549
    15. ศุภชัย สินถาวร และ สุวิมล สัจจวาณิชย์ (2545). “การควบคุมงานก่อสร้างคอนกรีตบดอัดเขื่อนคลองท่าด่าน” การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 8, โรงแรมโซฟิเทล ราชา ออคิด จ.ขอนแก่น 23-25 ตุลาคม 2545

 

3.1 สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

  • สิทธิบัตรเลขที่ 93644 ชื่อผลงาน “กรรมวิธีการทดสอบวัดคุณภาพของสารปอซโซลานเพื่อใช้เป็นสารผสมเพิ่มในคอนกรีต” ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2566
  • อนุสิทธิบัตรเลขที่ 17017 ชื่อผลงาน “อุปกรณ์ทดสอบโดยวิธีลากโซ่แบบถอดประกอบ” ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2563

 

3.2 หนังสือ/ตำราเรียนที่มีการวางขาย

  • ศุภชัย สินถาวร (2563) วิศวกรรมแผ่นดินไหว (พื้นฐาน), พิมพ์ครั้งที่ 2
  • ศุภชัย สินถาวร (2558) วิศวกรรมแผ่นดินไหว (พื้นฐาน)

 

3.3 ตำราเรียน/เอกสารประกอบคำสอน

  • ศุภชัย สินถาวร เอกสารประกอบการสอนวิชา คอนกรีตเทคโนโลยี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (2010)
  • ศุภชัย สินถาวร เอกสารประกอบการสอนวิชา การวิเคราะห์โครงสร้าง I ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (2009)

 

3.4 งานบรรยายทางวิชาการ

  • โครงการอยู่กับแผ่นดินไหว โครงการบริการวิชาการ ณ มศว องครักษ์ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นฐาน, อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดย ใช้วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย เป็นฐาน และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ โรงเรียนสาธิต ชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า เป็นฐาน ตั้งแต่ปี 2561-ปัจจุบัน
  • โครงการบริการวิชาการ มศว-ซีแพค ร่วมสร้าง ต้นกล้า งานคอนกรีต “เถ้าลอย, การวัดประสิทธิภาพ และ การใช้งานในงานคอนกรีตบดอัด” 25 ก.ย. 2556 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จังหวัดนครนายก
  • “Quick Monitoring for Pozzolanic Reactivity of Waste Ashes” in Future Trends for RMC in Thailand, May 27th, 2013, Organized by Asia Cement Products Co. and Jalaprathan Concrete Co.
  • หลักสูตร วิธีการแก้ไขความเสียหายจากการเสื่อมสภาพของวัสดุและอายุการใช้งานของสะพาน “การสำรวจและประมาณการเสื่อมสภาพในการบำรุงรักษาสะพาน” 26 เมษายน 2556 ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น จัดโดยสำนักวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนา กรมทางหลวงชนบท
  • Innovative Steel Construction Technology and Application, “Innovative Steel House: Modularization and Seismic Countermeasures”, July 6th 2012, Bangkok, Organized by IRON AND STEEL INSTITUTE OF THAILAND, ISIT
  • “Composite Construction” 24-25 ม.ค. 2554 Bangkok, Organize by ASDCOM, Asian Institute of Technology, AIT
  • “การสำรวจและประมาณการเสื่อมสภาพในการบำรุงรักษาสะพาน” 12-14 ก.ค. 2553 ณ โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดยสำนักวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนา กรมทางหลวงชนบท
  • “การแก้ความเสียหายจากการเสื่อมสภาพของวัสดุ และอายุการใช้งานของสะพาน” 16-17 ก.ค. 2552 ณ โรงแรมระยองบีช จังหวัดระยอง
  • “การประยุกต์ใช้เถ้าลอยในการก่อสร้างและคอนกรีตบดอัด” 20-21 ก.พ. 2547 ณ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จังหวัดนครนายก

 

3.5 บทความในหนังสือพิมพ์

  • Sinthaworn. (2011, November 1). Floodwall warning. The Nation.

4.1 ความภาคภูมิใจ/รางวัลที่ได้รับ

  • อาจารย์พัฒนานิสิตดีเด่น จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในวันสถาปนาคณะฯ 14 ธันวาคม 2561
  • เครื่องราช จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
  • รางวัลชนะเลิศการประกวดปริญญานิพนธ์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2560 ในโครงการ Structural Steel Improvement for Young Engineers 2017 ZSSI4YE2017) จาก บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน)   (อาจารย์ที่ปรึกษา)
  • The Best Oral Presentation award In the presentation of International Conference on Materials Technology and Applications 2016 (ICMTA2016), October 29-31, 2012, Singapore
  • 1st runner up of construction cost award and 1st runner up of total cost Award of the Asian Bridge Competition (BRICOM 2016), at Tokyo Institute of Technology, Japan, March 13-17th, 2016 (Team Director)
  • Best presentation award, the outstanding presentation in the student group presentation and discussion session “Philosophies and Lessons of Past Disasters” by National graduate institute for policy studies (GRIPS), February 4-5th, 2015.
  • 1st runner up of construction cost award of the Asian Bridge Competition (BRICOM 2014), at Gifu University, Japan, March 18-22th, 2014 (Team Director)
  • รางวัลชมเชย การแข่งขันคอนกรีตมวลเบาระดับอุดมศึกษาครั้งที่ 6 (6th Lightweight Concrete Competition ) ในระหว่าง 5-7 กันยายน 2555 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อาจารย์ที่ปรึกษา)
  • Honorable mention Performance award of the Asian Bridge Competition (BRICOM 2012), at National Central University (NCU), Taiwan, March 20-22th, 2012 (Team Director)
  • รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันคอนกรีตมวลเบาระดับอุดมศึกษาครั้งที่ 5 (5th Lightweight Concrete Competition ) ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในระหว่าง 18-19 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อาจารย์ที่ปรึกษา)
  • 1st consolidation of performance award of the Asian Bridge Competition (BRICOM 2011), at University of Lao, Vientiane, Lao P.D.R., March 14-17th, 2011 (Team Director)
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สองในประเภทคอนกรีตกำลังสูง จากการแข่งขันคอนกรีตพลังช้างครั้งที่ 11 วันที่ 26-27 ส.ค. 2553 ณ. มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี (อาจารย์ที่ปรึกษา)
  • รางวัลคอนกรีตเบาที่สุด ในการแข่งขันคอนกรีตมวลเบาระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 4 วันที่ 18-20 ส.ค. 2553 ณ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตวังไกลกังวล (อาจารย์ที่ปรึกษา)
  • 1st runner up of performance award of the Asian Bridge Competition (BRICOM 2010), at Kasetsart University Chalermphrakiat Sakon Nokhon Province Campus, March 18-20th, 2010 (Team Director)
  • รางวัลชมเชยในประเภทคอนกรีตกำลังสูง ใน การแข่งขันคอนกรีตพลังช้างครั้งที่ 10 วันที่ พ.ศ. 2552 ณ. มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี (อาจารย์ที่ปรึกษา)
  • รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2547 จากการประชุมทางวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 42 พ.ศ. 2547  เรื่อง Some Effects on Datum Temperature for Maturity Application on Fly Ash Concrete
  • นิสิตสาขาวิศวกรรมโยธา ชั้นปีที่ 4 ที่มีผลการศึกษาดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2541 จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ณ วันที่ 22 ก.ค. 2542