อาจารย์
ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เลขที่ 63 หมู่ที่ 7 ถนนรังสิต-นครนายก คลอง 16
อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120
โทรศัพท์ 085-5585255, อีเมล์ : piyawatt@g.swu.ac.th
1.1 ประวัติ
อ.ปิยวัชร์ ธาราสมบัติ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม เกียรตินิยมอันดับ2 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปีพ.ศ.2545 ได้เข้าทำงานที่บริษัท Unocal Thailand ในตำแหน่ง Drilling Engineer บนแท่นขุดเจาะในอ่าวไทยเพื่อควบคุมการขุดเจาะให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัย
หลังจากนั้นได้รับทุน Panasonic Scholarship เข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ University of Tokyo ในสาขา Geosystem Engineering โดยทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการนำแบคทีเรียที่ค้นพบมาแตกตัวน้ำมันดิบหนืดที่ไม่สามารถไหลได้ให้เป็นก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตมาใช้งานอย่างคุ้มค่า
เมื่อจบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.2550 ได้เข้าทำงานในตำแหน่ง Petroleum software engineer ที่ Schlumberger Japan โดยเชี่ยวชาญด้านการคำนวณการไหลของน้ำมันดิบในหลุมและท่อผลิต ซึ่งช่วยให้บริษัทน้ำมันหลายแห่งประสบความสำเร็จในแหล่งน้ำมันต่างๆทั่วโลก
จากนั้นในปี 2554 ได้ย้ายมาที่ Chevron Thailand ในตำแหน่ง Reservoir engineer โดยเน้นการคำนวณปริมาณสำรองและการไหลของน้ำมันในชั้นหินใต้ดินในอ่าวไทย และชำนาญในการทำ Waterflood เพื่อเพิ่มอัตราการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ในปี 2556 ได้เข้าทำงานที่ Schlumberger Consulting Malaysia ในตำแหน่ง Senior Consulting Petroleum Engineer เพื่อให้คำปรึกษาด้านการค้นหาและผลิตแหล่งน้ำมันในบริเวณ Asia Pacific โดยใช้เทคนิคขั้นสูงเช่น Hydraulic fracturing เป็นต้น
ในปี 2558 ได้ย้ายมาที่ Mubadala Thailandในตำแหน่ง Senior Petroleum engineer โดยเน้นการผลิตน้ำมันดิบในอ่าวไทยด้วยการใช้ Electric Submersible Pump ร่วมด้วยเทคนิคขั้นสูงอื่นๆ เช่น Acidizing, Matrix fracking เป็นต้น
สุดท้ายได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาปิโตรเลียมและก๊าซธรรชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจนถึงปัจจุบัน
1.2 การศึกษา
1.3 วิชาที่สอน
1.4 งานบริการทางวิชาชีพวิศวกรรม
2.1 สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ
2.2 สาขาวิชาที่ชำนาญ
2.3 แนวคิดในการดำเนินงานวิจัย
งานวิจัยแบ่งออกเป็นสามกลุ่มคือ Geothermal energy, Enhanced Oil Recovery, และ Unconventional Resources.
กลุ่มแรกเน้นหนักในการพยายามนำพลังงานความร้อนตามธรรมชาติจากใต้พิภพโดยการอัดฉีดน้ำเข้าไปในหลุมอัดเพื่อให้นำพาความร้อนและผลิตกลับขึ้นสู่ผิวดินโดยไม่มีการใช้สารเคมีที่เป็นพิษใดๆ
กลุ่มที่สองเน้นไปในกระบวนการผลิตน้ำมันดิบเพื่อดึงเอาศักยภาพสูงสุดที่ยังไม่ถูกผลิตจาก ขั้นเทคนิคขึ้นต้นหรือทุตยภูมิ โดยการเปลี่ยนกระบวนการทางเคมีของน้ำมันเพื่อให้การไหลทำได้ง่ายขึ้น
กลุ่มที่สามมุ่งไปในแหล่งสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ยังไม่ถูกพัฒนาภายใต้เงื่อนไขของชั้นหินและการผลิตแบบดั้งเดิม ซึ่งต้องการกรรมวิธีผลิตที่พิเศษเพื่อเปลี่ยนให้เป็นแหล่งพลังงานฟอสซิลที่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1 International Journals
3.2 Internal corporate publications
4.1 ความภาคภูมิใจ/รางวัลที่ได้รับ