Enter your keyword

Our Teacher

อาจารย์ ดร.ปรารถนา ประชานุรักษ์

อาจารย์

ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เลขที่ 63 หมู่ที่ 7 ถนนรังสิต-นครนายก คลอง 16
อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120
โทรศัพท์ 02-6495000 # 22099, อีเมล์ : pradthanap@g.swu.ac.th

1.1 ประวัติ

ดร.ปรารถนา ประชานุรักษ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ (วศ.บ.) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2545 หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (วศ.ม.) เมื่อจบการศึกษาในปี พ.ศ.2549 ได้เข้าทำงานในตำแหน่งวิศวกรสิ่งแวดล้อมที่ศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อมบางเขน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (วศ.ด.) ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ภายใต้ทุนของโครงการ Japan International Cooperation Agency (JICA) ซึ่งมีงานวิจัยมุ่งเน้นไปที่การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของระบบบำบัดทางชีวภาพและการเกิดเมือกชีวภาพ โดยสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2560 ในระหว่างศึกษาต่อปริญญาเอกได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์ประจำ ในภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปี พ.ศ.2557 จนถึงปัจจุบัน

ในด้านงานวิจัย มีความสนใจด้านการบำบัดน้ำเสียโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่ การใช้แบคทีเรียสังเคราะห์แสงในการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น เทคโนโลยีการฟื้นฟูทางชีวภาพ ไบโอฟิล์ม แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของกระบวนการทางชีวภาพ การจัดการขยะ รวมถึงการผลิตพลังงานทดแทนจากชีวภาพ นอกจากนี้ยังมีความสนใจทางด้านมลพิษทางอากาศ มีโครงการวิจัยในปัจจุบัน ได้แก่ การศึกษาด้านคุณภาพอากาศ การบำบัดสารพิษในน้ำชะขยะ การผลิตพลังงานทดแทนจากชีวภาพ  นอกจากงานวิจัยแล้ว ดร.ปรารถนา ประชานุรักษ์ ยังได้รับเป็นที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ในโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ และงานด้านการจัดวางผังเมืองในชุมชนต่างๆ ในส่วนของงานด้านสาธารณูปโภค และทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

1.2 การศึกษา

  • วศ.ด. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์), พ.ศ.2560
  • วศ.ม. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่), พ.ศ.2549
  • วศ.บ. วิศวกรรมเหมืองแร่ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่), พ.ศ.2545

 

1.3 ตำแหน่งทางวิชาการ

  • อาจารย์

 

1.4 วิชาที่สอน

  • ธรณีวิทยาวิศวกรรม
  • ปฏิบัติการชลศาสตร์
  • วิศวกรรมขยะมูลฝอย
  • เคมีสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • ชีววิทยาสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • วิศวกรรมของเสียอันตราย

 

1.5 งานบริการทางวิชาชีพวิศวกรรม

  • 2557 – ปัจจุบัน อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • 2562 – ปัจจุบัน อาจารย์พิเศษ กองวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
  • 2550 – 2551  วิศวกรสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อมบางเขน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

1.6 ประเภทใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

  • ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกร สาขาเหมืองแร่
  • ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกร สาขาสิ่งแวดล้อม
  • ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ

 

1.7 ภาระงานที่มีต่อภาควิชา

  • อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  พ.ศ.2559-ปัจจุบัน

 

1.8 ภาระงานที่มีต่อองค์กรในภาครัฐ

  • ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ของศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม ม.เกษตรศาสตร์ในโครงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ โรงงานผลิตลวดทองแดง บ.ไทยเมทัลโปรเซสซิ่ง จำกัด, 2557-2558
  • อาจารย์พิเศษ กองวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 2562 – ปัจจุบัน

 

1.9 งานบริการด้านอื่นๆ

  • โครงการวางผังชายแดนตาพระยา จ.สระแก้วร่วมการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อวางแผนโครงการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ชลศาสตร์อุทกวิทยา สาธารณูปโภค และด้านสาธารณูปการ

2.1 สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

  • การบำบัดน้ำเสียโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
  • แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของกระบวนการทางชีวภาพ ไบโอฟิล์ม
  • เทคโนโลยีการฟื้นฟูทางชีวภาพ
  • การผลิตพลังงานทดแทนจากชีวภาพ

 

2.2 สาขาวิชาที่ชำนาญ

  • การจัดการขยะ
  • การบำบัดน้ำเสียโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
  • มลพิษทางอากาศ

 

2.3 หัวข้อวิจัยที่สนใจ

  • การศึกษาด้านคุณภาพอากาศ
  • การจัดการขยะ
  • แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของกระบวนการทางชีวภาพ ไบโอฟิล์ม
  • การบำบัดน้ำเสียโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
  • การบำบัดสารพิษในน้ำชะขยะ
  • การผลิตพลังงานทดแทนจากชีวภาพ

 

2.4 โครงการวิจัย/บริการชุมชน

  • การประเมินศักยภาพการผลิตพลังงานทดแทนจากของเสียเศษอาหารในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (องครักษ์) ทุนวิจัยเงินรายได้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (ผู้ร่วมวิจัย)
  • การศึกษาปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) และความเข้มข้นของโลหะหนักในฝุ่นที่เกิดจากการจราจรบริเวณตลาดองครักษ์ จ.นครนายก ทุนวิจัยเงินรายได้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 (หัวหน้าโครงการ)
  • การประเมินศักยภาพในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากการบำบัดน้ำเสียจากโรงอาหารในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (องครักษ์) ทุนวิจัยเงินรายได้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (หัวหน้าโครงการ)
  • การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรช่องสัญญาณของเครือข่ายไร้สายยุคที่ 5 โดยการสร้างอุปกรณ์ต้นแบบ ทุนวิจัยเงินรายได้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (ผู้ร่วมวิจัย)


  • International Journal
    1. Prachanurak, P., Chiemchaisri, C., Chiemchaisri, W. and K. Yamamoto. (2019). Modeling of biofilm growth for photosynthetic biomass production in a pipe-overflow recirculation bioreactor. Biochemical Engineering Journal, vol. 142, p. 50-57.
    2. Boonnorat, J., Techkarnjanaruk, S., Honda, R., Angthong, S., Boonapatcharoen, N., Muenmee, S. and P. Prachanurak. (2018). Use of aged sludge bioaugmentation in two-stage activated sludge system to enhance the biodegradation of toxic organic compounds in high strength wastewater. Chemosphere, vol. 202, p. 208-217.
    3. Boonnorat, J., Boonapatcharoen, N., Prachanurak, P., Honda, R. and S. Phanwilai. (2017). Toxic compounds biodegradation and toxicity of high strength wastewater treated under elevated nitrogen concentration in the activated sludge and membrane bioreactor systems. Science of the Total Environment, vol. 592, p. 252-261.
    4. Boonnarat, J, Techkarnjanaruk, S., Honda, R. and P. Prachanurak. (2016). Effects of hydraulic retention time and carbon to nitrogen ratio on micro-pollutant biodegradation in membrane bioreactor for leachate treatment. Bioresource Technology, vol. 219, p. 53-63.
    5. Prachanurak, P., Chiemchaisri, C., Chiemchaisri, W. and K. Yamamoto. (2014). Biomass production from fermented starch wastewater in photo-bioreactor with internal overflow recirculation. Bioresource Technology, vol. 165, p. 129-136.

 

  • National Journal
    1. Prachanurak, A. and P. Prachanurak. (2019). Water Quality Assessment of Right Main Canal in Nakhon Nayok Province. SWU Engineering Journal, vol. 14 (2), p. 98-109.
    2. P. Prometjit. (2007). Nitrogen removal of leachate contaminated groundwater in unconfined aquifer by multi-soil-layering system. Engineering Journal Chiangmai University.

 

  • International Conference
    1. Karnchanawong, S. and P. Prometjit. 2007. Remediation of Leachate Contaminated Groundwater in Unconfined Aquifer by Multi-Soil-Layering System. Proceedings of the International Conference on Engineering and Environment (ICEE2007).

 

  • National Conference
    1. Kanyatrakul, A., Prakhongsak, A., Phanwilai, S., Boonapatcharoen, N., Prachanurak, P., and J. Boonnorat. (2020, 5-7 February 2020). Effect of Landfill Leachate Effluent by Acclimatized Sludge in Activated Sludge and Membrane Bioreactor on Seed Germination. In Proceedings of the 58th Kasetsart University Annual Conference, Kasetsart University, Bangkok, Thailand.
    2. Suthida, T., Yanika, L., and P. Prachanurak. (2018, 18-20 July 2018). Energy Production Potential from the Anaerobic Digestion of Cafeteria Waste in Srinakharinwirot University (Ongkaruk). In Proceedings of the 23th National Convention on Civil Engineering (NCCE23), Chulachomklao Royal Military Academy (CRMA), Nakhon Nayok, Thailand, 6 p.

 

3.1 เอกสารประกอบการสอน

  • เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วศย 482 การจัดการขยะและของเสีย ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดย อ.ปรารถนา ประชานุรักษ์
  • เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วศย 231 ธรณีวิทยาทางวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดย อ.ปรารถนา ประชานุรักษ์
  • เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วศย 343 ปฏิบัติการทางชลศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดย อ.ปรารถนา ประชานุรักษ์
  • เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วศส 201 เคมีสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดย อ.ปรารถนา ประชานุรักษ์
  • เอกสารประกอบการสอน รายวิชา วศส 202 ชีววิทยาสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดย อ.ปรารถนา ประชานุรักษ์

4.1 ความภาคภูมิใจ/รางวัลที่ได้รับ

  • พ.ศ. 2552 นักเรียนทุนของโครงการ Japan International Cooperation Agency (JICA) ซึ่งเป็นองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น ในชุดโครงการ Japan-Thailand collaboration project on Research and Development for Water Reuse in Tropical Regions ในระดับปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

 

4.2 รางวัลเกี่ยวกับงานวิจัย

  • พ.ศ. 2556 จดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ในงานวิจัยระดับปริญญาเอก เรื่อง ถังปฏิกรณ์ชีวภาพแบบใช้แสงสำหรับบำบัดน้ำเสียในสภาวะไร้อากาศ

5.1 วิชาชีพทางวิศวกรรม

  • ผ่านการอบรมหลักสูตร ผู้ตรวจสอบอาคาร รุ่นที่ 40 จัดโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ผ่านการอบรม เรื่อง การออกแบบหลุมฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล จัดโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และสภาวิศวกร
  • หลักสูตรการประเมินฟุตปริ้นท์น้ำ (Water Footprint) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
  • ผ่านการอบรมหลักสูตร การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมรุ่นใหม่ฯ ในการประเมินศักยภาพการปนเปื้อนดินและน้ำใต้ดินในบริเวณโรงงาน ตามกฎกระทรวง เรื่อง ควบคุมการปนเปื้อนดินและน้ำใต้ดินในบริเวณโรงงาน พ.ศ.2559 รุ่นที่ 3 จัดโดยศูนย์ Talent Mobility Center