Enter your keyword

Our Teacher

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรพจน์ ศิริไพโรจน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เลขที่ 63 หมู่ที่ 7 ถนนรังสิต-นครนายก คลอง 16
อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120

โทรศัพท์ : 02-6495000 # 27065, อีเมล์ : treerapot_eng@yahoo.com

1.1 การศึกษา

  • Ph.D., Transportation Engineering, Hong Kong Polytechnic University, Hongkong, 2014
  • M.Sc. in transportation engineering, University of New South Wale, Australia, 2002
  • B.Eng. in civil engineering, Chiang Mai University, Thailand, 2000

1.2 ตำแหน่งทางวิชาการ

  • อาจารย์

1.3 วิชาที่สอน

  • Transportation engineering (CVE473)
  • Numerical analysis for engineer (CVE419)
  • Advanced mathematics for civil engineering (CVE212)
  • Mathematics for engineering ii (EE211)
  • Mathematics for engineering i (EE111)

1.4 งานบริการทางวิชาชีพวิศวกรรม

  • ปี (พ.ศ. 2559-2560)
    • ตำแหน่ง : หัวหน้าโครงการโครงการ
    • ชื่อโครงการ : การพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้วิเคราะห์ลักษณะและปริมาณความต้องการเดินทางตามจุดต้นทาง-ปลายทางหรือการเดินทางแบบ Tour ของรถบรรทุกโดยใช้ข้อมูล passive GPS
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : ทุนเพื่อดำเนินโครงการ Innovation Hub – Smart City เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศตามนโยบายประเทศไทย 4.0
    • มูลค่าโครงการ : 1 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : พัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้วิเคราะห์ลักษณะและปริมาณความต้องการเดินทางตามจุดต้นทาง-ปลายทางหรือการเดินทางแบบ Tour ของรถบรรทุกโดยใช้ข้อมูล passive GPS
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : รับผิดขอบในส่วนของหัวหน้าโครงการ
  • ปี (พ.ศ. 2559-2560)
    • ตำแหน่ง : ผู้จัดการโครงการ
    • ชื่อโครงการ : สำรวจแนวทางพัฒนาเทศบาลนครนนทบุรีสู่เมืองอัจฉริยะ
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : เทศบาลนครนนทบุรี
    • มูลค่าโครงการ : 2 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : สำรวจโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructures) และสำรวจการดำเนินงานด้านระบบ IT ที่มีอยู่เดิมของเทศบาลนครนนทบุรี เพื่อนำมาใช้สำหรับการวางแผนและกำหนดรูปแบบการพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะที่เหมาะสม
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : รับผิดขอบโครงการในส่วนของผู้จัดการโครงการ
  • ปี (พ.ศ. 2559-2560)
    • ตำแหน่ง : รองผู้จัดการโครงการด้านวิศวกรรมจราจรและขนส่ง
    • ชื่อโครงการ : โครงการงานจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการจราจรและอุบัติเหตุ
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : กรมทางหลวง
    • มูลค่าโครงการ : 20 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : ศึกษาแนวทางการจัดตั้ง และบริหารจัดการศูนย์บริหารจัดการจราจรและอุบัติเหตุ กรอบอัตรากำลัง ประมาณการงบประมาณทั้งในส่วนของการจัดตั้ง และการบริหารจัดการศูนย์ฯ ในอนาคต รูปแบบการลงทุน กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความต้องการการใช้งานข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : รับผิดชอบงานวิศวกรรมและขนส่งของโครงการ และศึกษา ออกแบบโครงสร้างการเชื่อมต่อข้อมูล และกำหนดมาตรฐานการรับส่งข้อมูล ทั้งในส่วนการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างศูนย์ฯ กับหน่วยงานภายนอก
  • ปี (พ.ศ. 2559-2560)
    • ตำแหน่ง : ผู้จัดการโครงการ
    • ชื่อโครงการ : โครงการศึกษาและพัฒนาระบบการควบคุม กำกับ ดูแล โรงเรียนสอนขับรถด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : กรมการขนส่งทางบก
    • มูลค่าโครงการ : 12 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : ศึกษารวบรวมข้อมูลและศึกษาโครงสร้างของระบบจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสอนขับรถ และทำการออกแบบและพัฒนาระบบ e-classroom
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : รับผิดขอบโครงการในส่วนของผู้จัดการโครงการ
  • ปี (พ.ศ. 2557-2558)
    • ตำแหน่ง : ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมจราจรและขนส่ง
    • ชื่อโครงการ : โครงการศึกษา ติดตั้ง และทดสอบป้ายรายงานสภาพจราจรที่มีผลกระทบและผลประโยชน์ต่อพฤติกรรมการเปลี่ยนเส้นทาง
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : 7 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : ศึกษา ติดตั้ง และทดสอบป้ายรายงานสภาพจราจรที่มีผลกระทบและผลประโยชน์ต่อพฤติกรรมการเปลี่ยน
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : ศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ป้ายรายงานสภาพจราจร รวมทั้งศึกษาหาตำแหน่งที่เหมาะสม ในการติดตั้งป้ายฯ ดังกล่าว
  • ปี (พ.ศ. 2554-2557)
    • ตำแหน่ง : นักวิจัยด้านการขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : Route Travel Time Estimation from Vehicle Identification Data
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : The Hong Kong Polytechnic University, ฮ่องกง
    • มูลค่าโครงการ : ใช้ทุนวิจัยนักศึกษาระดับ ปริญญาเอก
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : งานวิจัยเพื่อพัฒนาแบบจำลองด้านการขนส่งและจราจร ใช้คาดการณ์เวลาในการเดินทางของยวดยานแยกรายเส้นทาง โดยใช้ข้อมูลแบบ Vehicle identification เช่น ข้อมูลจากการสำรวจ Vehicle license plate
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : ศึกษาและพัฒนาแบบจำลองด้านการขนส่งและจราจรเพื่อใช้ คาดการณ์เวลาการเดินทางในแต่ละเส้นทาง โดยใช้ข้อมูลแบบ Vehicle identification เช่น ข้อมูลจากการสำรวจ Vehicle license plate
  • ปี (พ.ศ. 2554-2557)
    • ตำแหน่ง : นักวิจัยด้านการขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : Updating of Travel Behavior Model Parameters and Estimation of Vehicle Trip Chain Based on Plate Scanning
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : The Hong Kong Polytechnic University, ฮ่องกง, ประเทศจีน
    • มูลค่าโครงการ : ใช้ทุนวิจัยนักศึกษาระดับ ปริญญาเอก
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : งานวิจัยและพัฒนาพัฒนาวิธีในการปรับเทียบจำลองด้านการขนส่ง/จราจร โดยใช้ข้อมูลจาก License plate survey เพื่อให้แบบจำลองมีความน่าเชื่อถือ ในการเอาไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์โครงการก่อสร้าง/ปรับปรุง ด้านการจราจร เช่น การก่อสร้างถนนเส้นใหม่ เพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านการจราจร เป็นต้น
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : ศึกษาและพัฒนาวิธีในการปรับเทียบจำลองด้านการขนส่งและจราจร และการประมาณการตารางการเดินทางแบบต่อเนื่อง (Vehicle trip chain) โดยใช้ข้อมูลจาก License plate survey
  • ปี (พ.ศ. 2554-2557)
    • ตำแหน่ง : นักวิจัยด้านการขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : A Statistical Synthetic Population Calibration for Activity-Based Model with Incomplete Census Data
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : The Hong Kong Polytechnic University, ฮ่องกง, ประเทศจีน
    • มูลค่าโครงการ : ใช้ทุนวิจัยนักศึกษาระดับ ปริญญาเอก
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : งานวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีในการปรับเทียบจำลองด้านการขนส่งและจราจร (Activity-based travel demand model) ในส่วนของแบบจำลองย่อย (แบบจำลองการสังเคราะห์ประชากร) โดยใช้ข้อมูลปริมาณจราจร (traffic counts) เพื่อให้แบบจำลองมีความน่าเชื่อถือ ในการเอาไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์โครงการก่อสร้าง/ปรับปรุง ด้านการจราจร เช่น การก่อสร้าง ถนนเส้นใหม่ เพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านการจราจร เป็นต้น
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : วิจัยเพื่อพัฒนาวิธีในการปรับเทียบจำลองด้านการขนส่งและจราจร (activity-based travel demand model) ในส่วนของแบบจำลองย่อย (แบบจำลองการสังเคราะห์ประชากร) โดยใช้ข้อมูลปริมาณจราจร (traffic counts) ในการปรับเทียบแบบจำลอง เพื่อให้แบบจำลองมีความน่าเชื่อถือ
  • ปี (พ.ศ. 2554-2557)
    • ตำแหน่ง : นักวิจัยด้านการขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : Statistical Approach for Activity-Based Model Calibration Using Vehicle Identification and Traffic counts data
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : The Hong Kong Polytechnic University, ฮ่องกง, ประเทศจีน
    • มูลค่าโครงการ : ใช้ทุนวิจัยนักศึกษาระดับ ปริญญาเอก
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : งานวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีในการปรับเทียบจำลองด้านการขนส่งและจราจร (Activity-based travel demand model) ในส่วนของแบบจำลองย่อย (แบบจำลองการเดินทางและการทำกิจกรรม (Activity-travel pattern model)) โดยใช้ข้อมูลปริมาณจราจร (Traffic counts) และ ข้อมูลแบบ Vehicle identification เพื่อให้แบบจำลองมีความน่าเชื่อถือ ในการเอาไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์โครงการก่อสร้าง/ปรับปรุง ด้านการจราจร เช่น การก่อสร้าง ถนนเส้นใหม่ เพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านการจราจร เป็นต้น
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : วิจัยเพื่อพัฒนาวิธีในการปรับเทียบจำลองด้านการขนส่งและจราจร (Activity-based travel demand model) ในส่วนของแบบจำลองย่อย (แบบจำลองการเดินทางและการทำกิจกรรม (Activity-travel pattern model)) โดยใช้ข้อมูลปริมาณจราจร (Traffic counts) และ ข้อมูลแบบ Vehicle identification เพื่อให้แบบจำลองมีความน่าเชื่อถือ
  • ปี (พ.ศ. 2552-2553) 
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ข้อสนเทศ และแบบจำลอง เพื่อบูรณาการพัฒนาการขนส่งและจราจร     การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและระบบโลจิสติกส์ ระยะที่ 2 (TDML II)
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.), ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : 10 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : พัฒนาระบบฐานข้อมูล ข้อสนเทศ และแบบจำลอง เพื่อบูรณาการพัฒนาการขนส่งและจราจร     การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและระบบโลจิสติกส์ ระยะที่ 2
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : พัฒนาแบบจำลองการขนส่งและการจราจรระดับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และแบบจำลองการขนส่งและการจราจรระดับจังหวัดในเขตผังเมืองรวม ประกอบด้วยแบบจำลอง4-step model แบบจำลองกิจกรรม (Activity-based travel demand model) แบบจำลองการใช้ที่ดิน (Land Used Model) และแบบจำลองการขนส่งสินค้า เป็นต้น
  • ปี (พ.ศ. 2552-2553)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการจัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาโครงการ รถเมล์ด่วน BRT สำหรับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : กรุงเทพมหานคร (กทม.), ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : 10 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : จัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาโครงการรถเมล์ด่วน BRT สำหรับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีการกำหนดแนวเส้นทาง และตำแหน่ง และรูปแบบสถานีที่เหมาะสม
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป)  : พัฒนาแบบจำลอง เพื่อสำหรับคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารภายในเส้นทางการเดินรถ BRT หลังจากดำเนินโครงการในปีอนาคต
  • ปี (พ.ศ. 2552)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการจัดทำแผนแม่บทด้านการจราจรและขนส่ง,ประเทศกาตาร์
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : (UPDA- Urban planning and development authority, Qatar)
    • มูลค่าโครงการ : 50 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : พัฒนาแบบจำลองคาดการณ์ปริมาณการเดินทาง เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ จัดทำแผนแม่บทด้านการจราจรและขนส่งประเทศการ์ต้า
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : พัฒนางานแบบจำลองขนส่งและการจราจร  (Activity-based travel demand model) สำหรับประเทศ การ์ต้า เพื่อใช้วิเคราะห์คาดการณ์ปริมาณการเดินทาง ในรูปแบบการเดินทางต่างๆ รวมทั้งวิเคราะห์ปริมาณผู้โดยสารจากระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ (ระบบราง) ที่คาดว่าจะก่อสร้างในอนาคต รวมทั้งพัฒนาแบบจำลองระดับจุลภาค โดยโปรแกรม VISUM เพื่อวิเคราะห์ด้านการจราจร ในเชิงลึก สำหรับพื้นที่ย่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปี (พ.ศ. 2552)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการศึกษาและบริหารจัดการจราจรถนนวงแหวนรอบที่5   และ ถนน Jahra, ประเทศคูเวต
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : (UPDA- Urban planning and development authority, Qatar)
    • มูลค่าโครงการ : 2 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : พัฒนาแบบจำลองด้านการขนส่งและคาดการณ์ปริมาณการเดินทาง เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ และบริหารการจราจรบนถนนวงแหวนรอบที่ 5 และถนน Jahra ประเทศคูเวต
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : ศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบทางแยก (ทางแยกสัญญาณไฟ และ ทางแยกวงเวียน เป็นต้น) เพื่อบริหารจัดการจราจร รวมทั้งออกแบบบ รูปแบบ แยกต่างระดับบนถนนวงแหวนรอบที่ 5 ประเทศกาตาร์ จำนวน 20 ทางแยก เชิงวิศวกรรม อย่างเหมาะสม โดยโปรแกรม VISSIM and โปรแกรม VISUM
  • ปี (พ.ศ. 2551-2552)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ข้อสนเทศ และแบบจำลอง เพื่อบูรณาการพัฒนาการขนส่งและจราจร การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและระบบโลจิสติกส์ ระยะที่ 1 (TDML)
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.), ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : 18.4 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : พัฒนาระบบฐานข้อมูล ข้อสนเทศ และแบบจำลอง เพื่อบูรณาการพัฒนาการขนส่งและจราจร     การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและระบบโลจิสติกส์ ระยะที่ 1
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : พัฒนาแบบจำลองการขนส่งระดับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และแบบจำลองขนส่งระดับจังหวัดในเขตผังเมืองรวม ประกอบด้วยแบบจำลองต่อเนื่อง 4 ขั้นตอน (4-step model) แบบจำลองการเดินทางเชิงกิจกรรม (Activity-based travel demand model) แบบจำลองการใช้ที่ดิน (Land used model) และแบบจำลองการขนส่งสินค้า เป็นต้น
  • ปี (พ.ศ. 2550-2551)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ และด้านวิศวกรรม ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) , ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : 20 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : ศึกษาความเหมาะสมของรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : งานการวิเคราะห์การสำรวจด้านการจราจร เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแบบจำลองด้านการจราจร ศึกษาพฤติกรรมการเลือกรูปแบบการเดินทางและจุดต้นทาง-ปลายทาง ของผู้โดยสาร ณ สถานีรถไฟฟ้า การสำรวจปริมาณจราจร และถนนสายหลักในพื้นที่ศึกษา เพื่อใช้ในการปรับปรุงแบบด้านจราจร โดยใช้แบบจำลองขนส่งและจราจรกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (eBUM) จากหน่วยงาน สนข. เป็นแบบจำลองขั้นต้นในการวิเคราะห์ ให้สามารถคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารได้อย่างเหมาะสม
  • ปี (พ.ศ. 2550-2551)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างทางหลวงพิเศษ M1
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย, ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : – ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : โครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ และด้านวิศวกรรมทางหลวงพิเศษเส้นทาง  M1  เชื่อมต่อท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : การวิเคราะห์การสำรวจด้านการจราจร เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแบบจำลองด้านการจราจร การพฤติกรรมการเลือกรูปแบบการเดินทาง และจุดต้นทาง-ปลายทาง ของผู้โดยสาร ณ สนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมือง การสำรวจปริมาณจราจรเข้า-ออก สนามบิน และ ถนนสายหลักในพื้นที่ศึกษา และใช้ในการปรับปรุงและออกแบบด้านการจราจร ซึ่งใช้แบบจำลอง eBUM จากหน่วยงาน สนข. เป็นแบบจำลองขั้นต้นในการวิเคราะห์ ให้สามารถคาดการณ์ปริมาณรถที่คาดว่าจะใช้ทางหลวงพิเศษ M1 ได้อย่างเหมาะสมและน่าเชื่อถือ
  • ปี (พ.ศ. 2550-2551)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการศึกษาความเหมาะสมการกำหนดที่ตั้งโรงงานยาสูบแห่งใหม่
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง, ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : 4 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : ศึกษาความเหมาะสมของการกำหนดที่ตั้งโรงงานยาสูบแห่งใหม่
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : งานการวิเคราะห์ที่ตั้งโรงงานยาสูบแห่งใหม่ เพื่อทดแทนโรงงานยาสูบเดิม ซึ่งมีนโยบายเปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะ โดยวิเคราะห์ปัจจัยการเลือกที่ตั้งด้านการจราจรและขนส่ง และค่าใช้จ่ายในการขนส่ง โดยวิธี non-linear programming center of gravity และ load distance analysis ตามลำดับ รวมทั้งวิเคราะห์สภาพการจราจร บริเวณโครงข่ายโดยรอบ ในพื้นที่คาดว่าจะเป็นที่ตั้งโรงงานยาสูบแห่งใหม่
  • ปี (พ.ศ. 2550-2551)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการศึกษาเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งเอทานอล การผสม และการขนส่งแก๊สโซฮอล์
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : 4 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : ศึกษาหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งแก๊สโซฮอล์
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : งานการสำรวจ และรวบรวมข้อมูลด้านการขนส่ง การผสม เอทานอลและแก๊สโซฮฮล์ รวมทั้งวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และค่าใช้จ่ายในการผลิต และเก็บรักษา เอทานอล และ แก๊สโซฮอล์ เพื่อหาวิธีการและรูปแบบการขนส่งที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนในการขนส่งและผสม เอทานอลและแก๊สโซฮอล์ โดยภาพรวมทั้งหมดในประเทศ
  • ปี (พ.ศ. 2550-2551)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการศึกษาแผนแม่บทด้านการจราจรและขนส่ง จังหวัดเลย
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) , ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : 6 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : จัดทำแผนแม่บทด้านการจราจรและขนส่งในพื้นที่จังหวัดเลย
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : งานการวิเคราะห์คาดการณ์สภาพการจราจรโครงข่ายถนน ในเขตผังเมืองรวม จังหวัดเลย โดยการพัฒนาแบบจำลองต่อเนื่อง 4 ขั้นตอน (4-step model) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนและกำหนดนโยบายด้านการจราจร เช่น ขนาดถนน จำนวนช่องจราจร รูปแบบทางเชื่อม ทางแยก และรูปแบบการขนส่งที่เหมาะสม รวมทั้งสำรวจสภาพการจราจรในพื้นที่ดังกล่าว ประกอบด้วยการสำรวจปริมาณจราจร ครัวเรือน การเดินทาง จุดต้นทาง-จุดต้นทางปลายทาง และการเลือกรูปแบบการเดินทาง เป็นต้น
  • ปี (พ.ศ. 2550-2551)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการศึกษาแผนแม่บทด้านการจราจรและขนส่ง จังหวัดสุโขทัย
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) , ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : 6 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : จัดทำแผนแม่บทด้านการจราจรและขนส่งในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : งานการวิเคราะห์คาดการณ์สภาพการจราจรโครงข่ายถนน ในเขตผังเมืองรวม จังหวัดสุโขทัย โดยการพัฒนาแบบจำลองต่อเนื่อง 4 ขั้นตอน (4-step model)  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนและกำหนดนโยบายด้านการจราจร เช่น ขนาดถนน จำนวนช่องจราจร รูปแบบทางเชื่อม ทางแยก และรูปแบบการขนส่งที่เหมาะสม รวมทั้งสำรวจสภาพการจราจรในพื้นที่ดังกล่าว ประกอบด้วยการสำรวจปริมาณจราจร ครัวเรือน การเดินทาง จุดต้นทาง-จุดต้นทางปลายทาง และการเลือกรูปแบบการเดินทาง เป็นต้น
  • ปี (พ.ศ. 2551)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการศึกษาสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ ทางหลวงสายใหม่ เชื่อม ทล. 1098 และทล. 1
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : กรมทางหลวงชนบท, ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : 4 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : จัดทำแผนยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ โดยการก่อสร้างทางหลวงสายใหม่  เชื่อมทางหลวงเดิม (ทล. 1098 และ ทล. 1)  และท่าเรือเชียงแสน เพื่อเป็นช่องทางในการเชื่อมต่อการขนส่งสินค้า สู่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : งานการวิเคราะห์คาดการณ์สภาพการจราจรบนทางหลวงสายใหม่ เพื่อรองรับการพัฒนาท่าเทียบเรือเชียงแสนแห่งที่สอง โดยใช้แบบจำลองระดับด้านการขนส่งประเทศ (NAM) จากโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ข้อสนเทศและแบบจำลอง ระยะที่ 3 (TDMC III) จากหน่วยงาน สนข. เป็นแบบจำลองขั้นต้น รวมทั้งวิเคราะห์ขนาดถนน จำนวนช่องจราจร รูปแบบทางเชื่อม และทางแยกที่เหมาะสมในโครงข่าย และสำรวจสภาพการจราจรในพื้นที่ดังกล่าว
  • ปี (พ.ศ. 2549-2551)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะบริเวณศูนย์คมนาคมกรุงเทพฯ ด้านใต้
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : – ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : วางและจัดทำผังเมืองเฉพาะบริเวณศูนย์คมนาคมกรุงเทพฯ ด้านใต้
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : งานการวิเคราะห์คาดการณ์สภาพการจราจรโครงข่ายถนนในพื้นที่จัดทำผังเมืองเฉพาะบริเวณศูนย์คมนาคมกรุงเทพฯ ด้านใต้ โดยใช้แบบจำลองต่อเนื่อง 4 ขั้นตอน และข้อมูลพื้นฐานจากแบบจำลองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (eBUM) จากหน่วยงาน สนข. เป็นแบบจำลองขั้นต้น โดยวิเคราะห์รูปแบบโครงข่ายถนนที่เหมาะสมกับกิจกรรมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในพื้นที่ (เช่นการย้ายถิ่นฐานมาอาศัยในบริเวณดังกล่าว เนื่องจากศักยภาพในการการขนส่งและเดินทางสูง เพราะมีสถานีและเส้นทางรถไฟฟ้า ถึง 3 สาย พาดผ่านพื้นที่) ขนาดถนน จำนวนช่องจราจร รูปแบบทางเชื่อม และทางแยกที่เหมาะสมในโครงข่าย นอกจากนี้มีหน้าที่รับผิดชอบในการสำรวจข้อมูลด้านการจราจร เพื่อใช้ในการปรับปรุงฐานข้อมูลในแบบจำลองให้ทันสมัย และคาดการณ์ปริมาณจราจรอย่างเหมาะสม และวิเคราะห์หาผลประโยชน์จากการดำเนินการโครงการปรับปรุง ในรูปของการลดค่าใช้จ่ายของผู้ใช้ถนน การลดเวลาในการเดินทาง และการลดมูลค่าการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น
  • ปี (พ.ศ. 2549-2551)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการ ศึกษาความเหมาะสม การลงทุนก่อสร้างถนนวงแหวนรอบที่ 3 ของ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : กรมทางหลวง, ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : – ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : ศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบที่ 3
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : งานการวิเคราะห์คาดการณ์สภาพการจราจรบนถนนวงแหวนรอบที่ 3 ขนาด 4-6 ช่องจราจร โดยใช้แบบจำลองต่อเนื่อง 4 ขั้นตอน โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานจากแบบจำลองระดับประเทศ (NAM) จากโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ข้อสนเทศและแบบจำลอง ระยะที่ 3 (TDMC III) และแบบจำลองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (eBUM) จากหน่วยงาน สนข. เป็นแบบจำลองขั้นต้น โดยวิเคราะห์ขนาดถนน จำนวนช่องจราจร รูปแบบทางเชื่อม ทางแยกที่เหมาะสมในโครงข่าย ระบบการเดินทาง จำนวนตู้เก็บเงิน และอัตราค่าผ่านทางที่เหมาะสม นอกจากนี้ มีหน้าที่รับผิดชอบในการสำรวจข้อมูลด้านการจราจร เพื่อใช้ในการปรับปรุงฐานข้อมูลในแบบจำลองให้ทันสมัย และคาดการณ์ปริมาณจราจรอย่างสมเหตุผล ประกอบด้วยการสัมภาษณ์ริมถนน (Roadside survey) การสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วและปริมาณจราจร (Speed flow relationship survey) การสำรวจการเลือเส้นทางเดินทาง (Route choice survey) การสำรวจความเร็ว (Speed survey) และการสำรวจปริมาณจราจรบนช่วงถนนและทางแยก เป็นต้น และวิเคราะห์หาผลประโยชน์ของจากการดำเนินการโครงการปรับปรุง ในรูปของการลดค่าใช้จ่ายของผู้ใช้ถนน การลดมูลค่าเวลาในการเดินทาง และการลดมูลค่าการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น
  • ปี (พ.ศ. 2548-2549)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการศึกษาแผนแม่บท ศึกษาความเหมาะสม และออกแบบรายละเอียด การปรับปรุงและก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟ เชียงใหม่-ลำพูน
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : กรมโยธาธิการและผังเมือง, ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : – ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด การปรับปรุงและก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟ เชียงใหม่-ลำพูน
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : งานการวิเคราะห์คาดการณ์สภาพการจราจรบนถนนเลียบทางรถไฟ ขนาด 4 ช่องจราจร โดยใช้แบบจำลองระดับประเทศ (NAM) จากโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ข้อสนเทศและแบบจำลอง ระยะที่ 3 (TDMC III) จากหน่วยงาน สนข. เป็นแบบจำลองขั้นต้น โดยวิเคราะห์ขนาดถนน จำนวนช่องจราจร และรูปแบบทางเชื่อม ทางแยกที่เหมาะสมในโครงข่าย และวิเคราะห์งานด้านวิศวกรรมด้านความปลอดภัย ดำเนินงานในส่วนของการทำ road safety audit บนถนนสายดังกล่าว เนื่องจากถนนสายดังกล่าวมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุในระดับสูง และวิเคราะห์หาแนวทางการปรับปรุง และการจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินการก่อนหลัง โดยใช้เทคนิค AHP ในการดำเนินการ และวิเคราะห์หาผลประโยชน์ของจากการดำเนินการโครงการปรับปรุง ในรูปของการลดค่าใช้ของผู้ใช้ถนน การลดเวลาในการเดินทาง และการลดมูลค่าการเกิดอุบัติเหตุ
  • ปี (พ.ศ. 2548-2549)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการ การศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม การพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก-ด้านตะวันตก
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : กรมทางหลวง, ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : – ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : งานศึกษาความเหมาะสม และออกแบบเบื้องต้นโครงข่ายเชื่อมโยงวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก – ด้านตะวันตก
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : งานสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการจราจร วิเคราะห์สภาพการจราจรและระดับการให้บริการของถนน คาดการณ์ปริมาณจราจร
  • ปี (พ.ศ. 2548)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการศึกษาความเหมาะสมการลงทุนก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน ระบบราง จ.ภูเก็ต
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) , ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : – ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : ศึกษาความเหมาะสมด้านการลงทุนระบบขนส่งมวลชนระบบราง ของจังหวัดภูเก็ต
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : งานการวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญของโครงการในการลงทุนดำเนินการก่อนและหลัง โดยใช้เทคนิค AHP ในการดำเนินการ
  • ปี (พ.ศ. 2548)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการศึกษาความเหมาะสมการลงทุนก่อสร้างท่าเทียบเรือปากบารา จ.สตูล
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : กรมพานิชย์นาวี, ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : – ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : ศึกษาความเหมาะสมการลงทุนก่อสร้างท่าเทียบเรือปากบารา จ.สตูล
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : งานการวิเคราะห์คาดการณ์สภาพการจราจร โครงข่ายถนนในบริเวณท่าเทียบเรือปากบารา โดยคาดการณ์ปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากปริมาณการขนส่งสินค้า เข้า-ออก ท่าเทียบเรือปากบารา เพื่อวิเคราะห์ออกแบบขนาดช่องจราจร ออกแบบการปรับปรุงจุดตัด/ทางแยก และการออกแบบทางเข้า-ออก ของท่าเรือปากบารา เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าในอนาคต ได้อย่างเหมาะสม
  • ปี (พ.ศ. 2548)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการบริหารจัดการจราจรบริเวณศูนย์ NECTEC มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : NECTEC, ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : 0.5 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : บริหารจัดการจราจรบริเวณศูนย์ NECTEC มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : งานพัฒนาแบบจำลองระดับย่อย (Traffic simulation model) ในบริเวณศูนย์ NECTEC เพื่อวิเคราะห์สภาพการจราจรและปรับปรุงทางแยก การจัดการจราจรของโครงข่ายถนนในบริเวณดังกล่าว รวมทั้งการวิเคราะห์แก้ไขปัญหาการเกิดการจราจรติดขัดที่บริเวณประตูทางเข้าด้านหน้าศูนย์ฯ โดยการก่อสร้างประตูทางเข้าแห่งใหม่ เพื่อระบายการจราจรโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน
  • ปี (พ.ศ. 2548)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ และด้านวิศวกรรม ถนนเลี่ยงเมือง สาย ค จ.ราชบุรี
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : กรมทางหลวงชนบท, ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : – ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : ศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ และด้านวิศวกรรม ถนนเลี่ยงเมือง สาย ค จ.ราชบุรี
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : งานการวิเคราะห์คาดการณ์สภาพการจราจรบนถนนเลี่ยงเมืองสาย ค โดยใช้แบบจำลองด้านการขนส่งระดับประเทศ (NAM) จากโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ข้อสนเทศและแบบจำลอง ระยะที่ 3 (TDMC III) จากหน่วยงาน สนข. เป็นแบบจำลองขั้นต้น รวมทั้งวิเคราะห์การปรับปรุงทางแยกของถนนตัดผ่านถนนเลี่ยงเมืองสาย ค และ สำรวจสภาพการจราจรในพื้นที่ดังกล่าว
  • ปี (พ.ศ. 2548)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการศึกษาความเหมาะสมการลงทุนก่อสร้างศูนย์โลจิสติกส์ในภาคตะวันออก
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : จังหวัดระยอง, ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : 10 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : – ศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ และด้านวิศวกรรม การลงทุนก่อสร้างศูนย์โลจิสติกส์ในภาคตะวันออก
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : งานการวิเคราะห์คาดการณ์สภาพการจราจรในบริเวณพื้นที่ที่คาดว่าจะเป็นศูนย์โลจิสติกส์ โดยใช้แบบจำลองระดับประเทศ (NAM) จากโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ข้อสนเทศและแบบจำลอง ระยะที่ 3 (TDMC III) จากหน่วยงาน สนข. เป็นแบบจำลองขั้นต้น รวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยในการเลือกที่ตั้ง (Site selection) ด้านการวิเคราะห์หาค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด โดยวิธี non-linear programming center of gravity และ load distance analysis ตามลำดับ
  • ปี (พ.ศ. 2548)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการการพัฒนาระบบรถรับส่งพนังงาน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน), ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : 4 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : ศึกษาและพัฒนาระบบรถรับส่งพนักงานที่เหมาะสม อันประกอบด้วย การกำหนดเส้นทางการเดินรถรับส่ง และจุดจอดรับส่ง รวมถึงการวิเคราะห์ความถี่และความคุ้มค่าในการลงทุน
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : การปรับปรุงและพัฒนาระบบรถรับส่งพนักงาน โดย บริษัท การบินไทย มีจำนวนพนักงานทั้งสิ้นประมาณ 25,000 คน และมีการย้ายพนักงานส่วนใหญ่ไปประจำที่สนามบินสุวรรณภูมิแทน สนามบินดอนเมือง โดยรับผิดชอบงานในส่งการออกแบบเส้นทาง ตาราง ขนาดรถ และจำนวนเที่ยวการเดินทางรถ เพื่อให้สอดคล้องรูปแบบการเดินทางของพนักงาน
  • ปี (พ.ศ. 2547-2552)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน – นครสวรรค์
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : กรมทางหลวง, ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : – ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : ศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน – นครสวรรค์
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : ศึกษาวิเคราะห์ด้านการจราจรและขนส่ง อันประกอบด้วย การศึกษาและวิเคราะห์สภาพการจราจรและขนส่งในปัจจุบัน การจัดทำแบบจำลองและคาดการณ์ปริมาณการจราจรในอนาคต การกำหนดจำนวนช่องจราจรที่เหมาะสม และการจัดรูปแบบทางแยกที่เหมาะสม
  • ปี (พ.ศ. 2545-2546)
    • ตำแหน่ง : วิศวกรขนส่งและจราจร
    • ชื่อโครงการ : โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ข้อสนเทศและแบบจำลอง ระยะที่ 2 (TDMC II)
    • เจ้าของโครงการ/งาน (หน่วยงาน / ประเทศ) : สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) , ประเทศไทย
    • มูลค่าโครงการ : 4 ล้านบาท
    • ลักษณะโครงการ (พอสังเขป) : พัฒนาและปรับปรุงระบบฐานข้อมูล ข้อสนเทศและแบบจำลอง ระยะที่ 2 ต่อเนื่องจากโครงการ ปรับปรุงระบบฐานข้อมูล ข้อสนเทศและแบบจำลอง ในระยะที่ 1
    • หน้าที่ที่รับผิดชอบ (พอสังเขป) : พัฒนาแบบจำลองจราจรระดับพื้นที่ย่อย (LAM) ในเขตกรุงเทพมหานคร เพิ่มเติม 4 พื้นที่ย่อย เพื่อให้ครอบคลุมขอบเขตการวิเคราะห์และกำหนดนโยบายด้านการบริหารการจราจรในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งสนับสนุนงานด้านฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการพัฒนาแบบจำลองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (BECM) ประกอบด้วยการพัฒนาแบบจำลองการเดินทางภายนอกพื้นที่ศึกษา (External trip forecasted model)

 

1.5 ประเภทใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

  • ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา เลขทะเบียน ภย. 30093

2.1 สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

  • Intelligent transport systems

 

2.2 สาขาวิชาที่ชำนาญ

  • Transport planning and management
  • Transport modelling
  • Analysis of travel behaviour
  • Calibration of travel demand model
  • Traffic impact analysis/studies
  • Road safety

 

2.3 หัวข้อวิจัยที่สนใจ

 Intelligent transport systems, Transport planning and management, Transport modelling,   Analysis of travel behaviour, Calibration of travel demand model, Traffic impact analysis/studies, Road safety



  • International Journal
    1. Siripirote, T., Sumalee, A., H.W. Ho, W.H.K Lam, 2015. Statistical approach for activity-based model calibration using vehicle reidentification and traffic counts data. Transportation research part B, 78, 280-300. (Impact factor 2014 = 2.952)
    2. Siripirote, T., Sumalee, A., Watling, D.P., Shao, H., 2014. Updating of travel behavior model parameters and estimation of vehicle trip chain based on plate scanning. Journal of Intelligent Transportation Systems, 18(4), 393-409. (Impact factor 2014 = 1.377)
    3. Siripirote, T., Sumalee, A., H.W. Ho, 2013. A statistical synthetic population calibration for activity-based model with incomplete census data. Journal of the Eastern Asia Society for Transportation Studies, 10, 742-761.

 

  • National Journal

     

    • International Conference
      1. Siripirote, T., Sumalee, A., Ho, H.W., 2013. Calibrating of activity-based model parameters from link counts, Paper accepted for the 13th International Conference on Computers in Urban Planning and Urban Management, Utrecht, The Netherlands.
      2. Siripirote, T., Sumalee, A., Ho, H.W., 2013. Updating of optimal license plate scanning location with link counts for estimation of OD trip matrix. Presented at the 18th International Conference of Hong Kong Society for Transportation Studies.
      3. Siripirote, T., Sumalee, A., Lam, W.H.K., Shao, H., 2012. Estimation of activity-based model parameters from travel diary survey: A case study of major city in Thailand. Proceedings of the 17th International Conference of Hong Kong Society for Transportation Studies, 427–434.
      4. Siripirote, T., Sumalee, A., Watling, D.P., 2010 Estimation of activity-based model parameters from vehicle reidentification data. Proceedings of the 15th International Conference of Hong Kong Society for Transportation Studies, 235.
      5. Siripirote, T., Johnstone, L., Kijmanawat, K. and et al., 2009. The application of activity Base model integrated with land use model for a regional city: case study of Phitsanulok province, Proceedings of the Eastern Asia Society for Transportation Studies, Vol.7.

     

    • National Conference