อาจารย์
ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เลขที่ 63 หมู่ที่ 7 ถนนรังสิต-นครนายก คลอง 16
อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 26120
1.1 ประวัติ
อาจารย์เดชพล จิตรวัฒน์กุลศิริ สำเร็จการศึกษา สาขาวิศวกรรมโยธา-ทรัพยากรน้ำ (วศ.บ.) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลังจากนั้นได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลไทย (Royal Thai government Fellowship) เข้าศึกษาในระดับปริญญาโท (M.Eng) ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology) ในสาขาวิศวกรรมทางน้ำและการจัดการ หลังจากสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2558 ได้ใช้เวลาเป็นผู้ช่วยนักวิจัย ให้กับภาควิชาวิศวกรรมทางน้ำและการจัดการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และได้ร่วมงานกับ บริษัท อีสวอเตอร์ จำกัด (มหาชน) รวมเป็นระยะเวลาหนึ่งปี และหลังจากนั้นได้เริ่มปฏิบัติงานเป็นอาจารย์ในสาขาการจัดการภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นระยะเวลาสี่ปี และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกด้านวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ ในโปรแกรม Regional Environment Planning, Civil Engineering, Shibaura Institute of Technology ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ทุนรัฐบาลประจำปี พ.ศ. 2563 โดยปัจจุบันได้รับโอกาสทำงานสอนในตำแหน่งอาจารย์พิเศษ ให้กับภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในด้านงานวิจัย มีความสนใจด้านการพัฒนาระบบแจ้งเตือนอุทกภัยล่วงหน้า บนพื้นฐานของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ร่วมกับแบบจำลองชลศาสตร์
1.2 การศึกษา
• PhD (Regional Environment Planning) Shibaura Institute of Technology, Japan กำลังศึกษา
• M.Eng (Water Engineering and Management) Asian Institute of Technology, 2558
• วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา-ทรัพยากรน้ำ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2556
1.3 ตำแหน่งทางวิชาการ
• อาจารย์, สาขาการจัดการภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2559-2563
1.4 วิชาที่สอน
• อุทกวิทยา (Hydrology)
• วิศวกรรมชลศาสตร์(Hydraulic Engineering)
2.1 สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ
• วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
• การจัดการอุทกภัย (Flood management)
• การบริหารจัดการน้ำ (Water management)
• การระบายน้ำในเมือง (Urban drainage)
2.2 หัวข้อวิจัยที่สนใจ
• เทคโนโลยีการแจ้งเตือนอุทกภัย
• การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กับงานวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
2.3 โครงการวิจัย
• Climate Change Adaptation through Optimal Stormwater Capture Measures: Towards a New Paradigm for Urban Water Security ภายใต้ทุนวิจัยจากหน่วบงาน Asia-Pacific Network for Global Change Research ปี 2557-2558 (ผู้ร่วมวิจัย)
• การประยุกต์ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาระบบระบายน้ำในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้ทุนสนับสนุนการวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (หัวหน้าโครงการ)
• กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านและน้ำทางการเกษตรของตำบลทับพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ภายใต้ทุนสนับสนุน การวิจัยในโครงการวิจัยและพัฒนาสร้างพลังร่วมในการพัฒนาเป็นเมืองน่าอยู่ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ปีงบประมาณ 2561(หัวหน้าโครงการ)
• การพัฒนาระบบแจ้งเตือนอุทกภัยแบบเรียลไทม์: กรณีศึกษาพื้นที่ปิดล้อมรามคำแหง กรุงเทพมหานคร ภายใต้ทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2562 (ผู้ร่วมวิจัย)
• การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ภายใต้ทุนวิจัยจากแผนบูรณาการพัฒนาศักยภาพ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (หัวหน้าโครงการ)
• การพัฒนาแอปพลิเคชันระบบพยากรณ์ฝนและการคาดการณ์อุทกภัยแบบเรียลไทม์ในเขตพื้นที่รามคำแหง กรุงเทพมหานคร ภายใต้ทุนสนับสนุนการวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (ผู้ร่วมวิจัย)
• การพัฒนาระบบคาดการณ์อุทกภัยแบบเรียลไทม์ด้วย Machine Learning : กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้ทุนสนับสนุนการวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ผู้ร่วมวิจัย)
• อุปสรรคและกลยุทธ์การปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : กรณีศึกษาบางเลน นครปฐม ภายใต้ทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กสว.) งบประมาณด้าน ววน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 (ผู้ร่วมวิจัย)
• โครงการส่งเสริมชุมชนปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและคุณภาพสิ่งแวดล้อม ผ่านการเกษตรปลอดภัยและกระบวนการคิดเชิงออกแบบ พื้นที่ปริมณฑลกรุงเทพฯ ภายใต้ทุนสนับสนุนการวิจัยกองทุนแคนาดาเพื่อความริเริ่มท้องถิ่น ประเทศไทย 2021 ประเด็นการศึกษา: การปรับตัว บรรเทาผลกระทบ และการบริหารจัดการน้ำ เพื่อรับมือกับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 (ผู้ร่วมวิจัย)